ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกวิชาสังคม ของนางสาวพรรณษา รักษาสุรสาร เลขที่ 40 ชั้น ม.4/2

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558


บทที่ 8ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การประสานประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแล้วยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของตน ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ อ่านเพิ่มเติม 

บทที่ 7 สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 7 สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม 
บทที่ 6 กฏหมาย 

ข้อตกลงระหว่างประเทศ

 กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International  Humanitarian  Law  :  IHL) เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศที่มุ่งครอบครองเพื่อนมนุษย์จากภัยสงคราม  หรือภัยจากการขัดแย้งกำลังทหาร กฎหมายมนุษยธรรมที่กำหนดในอนุสัญญาเจนีวา  มีดังนี้ อ่านเพิ่มเติม


บทที่ 6 กฎหมาย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว
            กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชนหรือคนแต่ละคน ทั้งเมื่อยู่ตามลำพัง และเมื่อติดต่อกับผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาของกฎหมายแพ่งของไทย ซึ่งมีรวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ครอบครัว ทรัพย์สิน นิติกรรม และสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ เพื่อเผยแพร่ให้มีการพิจารณาให้ข้อคิดเห็น เพื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาในขั้นตอนการแปรญัตติก่อนที่จะเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความสมบูรณ์สำหรับให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้ออกเสียงประชามติต่อไปนั้น. เมื่อมาพิจารณาถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วจะพบว่าต้องการที่จะแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ก่อให้เกิด อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558


บทที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รัฐ คือ สมาคมของมนุษย์จำนวนหนึ่งครอบครองดินแดนแห่งหนึ่งที่มีอาณาเขตแน่นอน รวมกันอยู่ภายใต้รัฐบาลหนึ่ง ถ้าเป็นกิจการภายในเป็นองค์การแสดงออกซึ่งอธิปไตย แต่ถ้าเป็นกิจการภายนอกเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของรัฐบาลอื่น อ่านเพิ่มเติม 

บทที่ 4 คุณลักษณะพลเมืองดี
คุณลักษณะพลเมืองดี คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้ 
1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว  ดรงเรียน  ชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก
4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล อ่านเพิ่มเติม


บทที่ 4 พลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิ
และเสรีภาพของ บุคคลอื่น พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงความมีร่างกายจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ มีประสิทธิภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา อ่านเพิ่มเติม 

บทที่ 3 วัฒนธรรม
การเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติ
การเลือกรับวัฒนธรรมนั้น จะต้องพิจารณาได้ตามปัจจัยดังต่อไปนี้
1. วัฒนธรรมนั้นต้องสามารถผสมผสานเข้ากับโครงสร้างทางสังคมทาง ค่านิยมและขนบธรรมเนียมไทยได้
2. วัฒนธรรมต่างชาตินั้นต้องมีส่วนเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้ก้าวหน้า เช่น การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการผลิต การศึกษา และการดำเนินชีวิต  อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 3 วัฒนธรรม
วัฒนธรรม 
มาจากคำว่า “Culture” ในภาษาอังกฤษ ซึ้งคำนนี้มีรากศัพท์มาจาก “Cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกและบำรุงให้เจริญงอกงาม คำว่า “วัฒนธรรม” ในภาษาไทย เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกัน คือ คำว่า “วัฒนะ” หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง และ คำว่า “ธรรม” หมายถึง การกระทำหรือข้อปฎิบัติ เมื่อรวมกันแล้ว วัฒนธรรมตามความหมายของคำในภาาาไทยจึงหมายถึงข้อปฎิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม

แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังค
ประเทศไทยได้มีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่  พุทธศักราช  2504 ในระยะแรกแผนพัฒนาจะเน้นเรื่องเศษฐกิจมากกว่าสังคม และได้มีจุดเปลี่ยนขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  8 (พ.ศ. 2540-2544)  ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น  "โดยมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" และใช้เศษฐกิจเป็นตัวช่วยพัฒนาให้คนในสังคม มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อ่านเพิ่มเติม


บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคม อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 1 สังคม
การขัดเกลาทางสังคม
       การขัดเกลาทางสังคม เป็นกระบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการทางจิตวิทยาที่จะทำให้สมาชิกในสังคมได้เรียนรู้ ยอมรับค่านิยม กฎเกณฑ์ วัฒนธรรม  ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้เพื่อให้บุคคลสามารถพัฒนาบุคลิกภาพและปรับตัวให้เป็นสมาชิกในสังคม จุดมุ่งหมาย  เพื่อให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย เพื่อปลูกฝังความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญและเพิ่มทักษะในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคม อ่านเพิ่มเติม 
บทที่ 1 สังคม
โครงสร้างทางสังคม
  โครงสร้างทางสังคม คือ ระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในสังคม ที่มารวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคม
  1.กลุ่มปฐมภูมิ หมายถึง  กลุ่มสังคมที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดสนิทสนมกัน
  2.กลุ่มทุติยภูมิ   หมายถึง  กลุ่มสังคมที่มีความสัมพันธ์กันแบบเป็นทางการการจัดระเบียบสังคม
 การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทาง อ่านเพิ่มเติม